top of page

Video Subtitle

This is your Video Description paragraph. It’s a great place to add a description of the video displayed in this section, and a few more words about your business, your site or what you do. Use a friendly and conversational tone to engage as many users as possible!

Silent Movies history: Video

ยุคบุกเบิก (ค.ศ. 1815 – 1907)

กว่าที่ภาพยนตร์จะพัฒนาการมาจนถึงรูปแบบ ๓ มิติสมจริง อย่างที่เราเห็นอยู่ในทุกวันนี้ ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ได้ผ่านจุดกำเนิดและวิวัฒนาการที่ยาวนาน  นับตั้งแต่เป็นฟิล์มท่อนสั้น ๆ ดูได้ที่ละคน หนังขาวดำที่ไม่มีเสียง หนังเสียงในฟิล์ม เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า ๑๒๓ ปี ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลก  สามารถแบ่งได้คร่าวๆ 4 ยุค



ยุคบุกเบิกของภาพยนตร์จะมีเรื่องราวสำคัญ ๆ อยู่ ๓ เรื่องราว ได้แก่

๑)  การทดลองเกี่ยวกับภาพยนตร์ของเอดิสันและคณะ

๒)  สิ่งประดิษฐ์ของพี่น้องลูมิแอร์

๓)  ฟิล์มสตริปและภาพยนตร์ม้วนเดียวจบ (ค.ศ. 1896 – 1907)

download.jpg

โธมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Edison) และวิลเลี่ยม ดิคสัน (William Kennedy Laurie Dickson) ได้ทำงานทดลองเกี่ยวกับภาพยนตร์ในราวปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) จนสามารถประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพยนตร์เครื่องแรกของโลกได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ.1889) เรียกชื่อว่า Kinetograph  โดยใช้ฟิล์มเซลลูลอยด์ ของ จอร์จ อีสต์แมน (george eastman) ซึ่งออกใหม่ในขณะนั้น หนังเรื่องแรกที่ถ่ายทำ คือ fred ott’s sneeze อันเป็นการถ่ายทำภาพยนตร์ในระยะเดียวคือ ปานกลางค่อนข้างใกล้ (Medium Close-up) ของชายที่กำลังจาม


นอกจากนี้ ยังได้ประดิษฐ์เครื่องฉายภาพยนตร์ที่เรียกว่า Kinetoscope ขึ้นด้วย มีลักษณะเป็นตู้สูงขนาดเอว เป็นเครื่องฉายในลักษณะ “ถ้ำมอง” (Peep Show machine) ที่ดูได้คราวละหนึ่งคน และหยอดเหรียญค่าดูครั้งละ 1 เพนนี เครื่อง Kinetoscope ออกแสดงครั้งแรกต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 14 เมษายน ปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) หนังแต่ละเรื่องที่จัดแสดงในเครื่องถ้ำมองกินเวลาเพียงไม่กี่วินาที

download (1).jpg

กล้องถ่ายหนังตัวแรกของโลก


     ในปี ค.ศ. 1888 โธมัส อัลวา เอดิสัน กับ วิลเลี่ยม ดิคสัน เกิดความคิดจะผลิตกล้องสำหรับถ่ายทำเรียกว่า (Kinetograph) แต่ผลลัพท์ไม่น่าพอใจ หลังจากนั้นไม่กี่เดือนต่อมา ดิคสันสามารถพัฒนาเครื่อง Kinetograph ให้ใช้งานได้คล่องมากขึ้น และยังประดิษฐ์เครื่องจัดแสดงภาพเคลื่อนไหวเรียกว่า Kinetoscope (Peep-show machine)


    Kinetoscope (Peep-show machine) มีลักษณะเป็นตู้สูงขนาดเอว ต้องดูในแบบถ้ำมองทีละคน และหยอดเหร๊ยญครั้งละ 1 เพนนี เครื่อง Kinetoscope ออกแสดงครั้งแรกต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 14 เมษายน ปี 1894 หนังแต่ละเรื่องที่จัดแสดงในเครื่องถ้ำมองกินเวลาเพียงไม่กี่วินาที ยุคของ Kinetograph กับ Kinetoscope เรียกกันว่าเป็นยุค Filmstrips บางทีก็เรียกว่า Pennyarcade

ภาพยนตร์ที่เรียกว่า Kinetoscope ขึ้นด้วย มีลักษณะเป็นตู้สูงขนาดเอว เป็นเครื่องฉายในลักษณะ “ถ้ำมอง” (Peep Show machine) ที่ดูได้คราวละหนึ่งคน และหยอดเหรียญค่าดูครั้งละ 1 เพนนี เครื่อง Kinetoscope ออกแสดงครั้งแรกต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 14 เมษายน ปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) หนังแต่ละเรื่องที่จัดแสดงในเครื่องถ้ำมองกินเวลาเพียงไม่กี่วินาที

ฟิล์มสตริปและภาพยนตร์ม้วนเดียวจบ (ค.ศ. 1896 – 1907)

หลังจากที่การพัฒนาทางด้านเครื่องมือ (Hardware) และอุปกรณ์ในการถ่ายทำภาพยนตร์และฉายภาพยนตร์ได้ดำเนินไปในระดับหนึ่งในยุคเริ่มต้นหรือยุคของการบุกเบิกงานสร้างภาพยนตร์นั้นแล้ว ก็ได้มีผู้สนใจหันมาให้ความสำคัญทางด้านการผลิตภาพยนตร์ขึ้น แต่ในยุคที่ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเกือบทั้งหมดยังคงเป็นเพียงเรื่องสั้นๆ ถ่ายทำด้วยฟิล์มเพียงท่อนเดียวที่เรียกว่า ฟิล์มสตริป (filmstrip) หรือบางเรื่องก็มีความยาวแค่ม้วนเดียว (One reelers)

สมัยอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในสหรัฐฯ เติบโตเต็มที่

บรรดานักสร้างภาพยนตร์คนสำคัญๆ เช่น กริฟฟิธ แมค เซนเนทและ ชาลี แชปลิน ต่างก็ได้พัฒนาฝีมือในการสร้างภาพยนตร์ของตนได้ถึงขีดสุดในช่วงปี ค.ศ.1915 และนี่ก็เป็นจุดเดียวกับที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในสหรัฐฯ ได้พัฒนาขึ้นถึงจุดที่เติบโตเต็มที่เช่นกัน  ยุคนี้นับเป็นยุคแรกที่นำระบบดารายอดนิยมมาจับความประทับใจของสาธารณชน ทำให้ดาราดังๆ มีค่าตัวสูงมาก อย่างเช่น ชาลี แชปลิน หรือ แมรี่ พิคฟอร์ด ที่เซ็นต์สัญญารับค่าตัวปีละล้านเหรียญ

ในทศวรรษนี้เองที่ฮอลลีวู้ด (Hollywood) ก็ได้กลายมาเป็นเมืองศูนย์กลางของ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ เมื่อนายทุนหลายคนได้ประสบความสำเร็จเป็นเศรษฐีเงินล้าน และได้มีการจัดระบบโรงถ่ายในฮอลลีวู้ดให้เป็นมาตรฐาน Thomas H. Ince เป็นผู้อำนวยการสร้างคนหนึ่งในจำนวนผู้ที่เริ่มระบบโรงงานอุตสาหกรรม ภาพยนตร์ โดยมีการกำหนดตารางการถ่ายทำ คำนวณงบประมาณ รวมทั้งกลั่นกรองรับรองบทถ่ายทำ ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงาน

 ปี ค.ศ.1916 อดอล์ฟ ซูเคอร์ (Adolph Zukor) ครองตำแหน่งประธานขององค์กรอุตสาหกรรมภาพยนตร์อันทรงอิทธิพลนี้กลายๆ และเรียกองค์กรนี้ว่า Paramount Pictures ถึงปี 1925 บริษัทอื่นๆ ก็เกิดตามขึ้นมาอีก เช่น Goldwin Pictures Corporation, Universal Pictures Company, Columbia Picture Company, Warner Brothers, The Fox Company และ Metro-Goldwyn-Mayer.

bottom of page